บทลงโทษ แรงงานต่างด้าวเกาหลี รู้เอาไว้หากตัดสินใจจะไปเป็นผีน้อย
ผีน้อย เป็นชื่อเรียกของคนที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศ แบบผิดกฎหมายแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายนั่นเอง การทำงานแบบผิดกฎหมายในต่างประเทศนั้น แต่ละประเทศก็จะมีบทลงโทษที่แตกต่างกันออกไป ประเทศที่คนไทยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องผีน้อยมากที่สุดหนีไม่พ้นประเทศเกาหลีใต้ มีอยู่ช่วงเวลาหนึ่งที่ตำรวจและทางการเกาหลีใต้ ออกมาทำการปราบเหล่าผีน้อยอย่างจริงจังจนทำให้ช่วงเวลานั้น คนที่ต้องการจะเดินทางไปท่องเที่ยว ในประเทศเกาหลีใต้ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย แม้ว่าทุกคนจะรู้ดีอยู่แก่ใจว่า การเดินทางไปทำงานแบบผิดกฎหมายนั้นจะมีความผิดทางกฎหมาย ทั้งในไทยและต่างประเทศแต่ก็ยังมีหลายคนที่ต้องการจะทำอย่างนั้นอยู่
ในวันนี้เราจึงจะมาแนะนำให้คุณนั้นได้รู้เกี่ยวกับ บทลงโทษแรงงานต่างด้าวในประเทศเกาหลี ก่อนจะตัดสินใจไปเป็นผีน้อยให้ได้รับทราบกัน สิ่งแรกที่แรงงานต่างด้าวจะต้องพบเจอในประเทศเกาหลีใต้ก็คือ ตม. เราจะทราบกันดีว่าปัจจุบันนี้ตม.เกาหลีใต้นั้นจะมีความเข้มงวดเป็นพิเศษในการตรวจคนเข้าเมืองโดยเฉพาะคนไทย บางคนตั้งใจจะเดินทางไปท่องเที่ยวกับถูกกักตัวและถูกส่งกลับประเทศทันทีก็มี นั่นก็เป็นเพราะว่าในปี 2531 นั้นมีแรงงานไทยหลั่งไหลเข้าไปในประเทศเกาหลีใต้ แบบผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก
มีการไปท่องเที่ยวแต่ไม่ยอมเดินทางกลับประเทศแล้วทำงานผิดกฎหมาย หากคุณตั้งใจจะเดินทางเข้าไปเป็นแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายนอกจากจะถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวดและอาจถูกส่งตัวกลับแล้ว ยังทำให้ประเทศไทยเสื่อมเสียชื่อเสียง ไม่เพียงเท่านั้นอาจถูกห้ามเข้าสู่ราชอาณาจักรเกาหลีใต้เป็นเวลานานหลายปีอีกด้วย
บทลงโทษทางกฎหมายของแรงงานต่างด้าวในเกาหลี นั้นจะถูกแบ่งออกเป็นฝั่งนายจ้างและฝั่งลูกจ้าง โดยในฝังลูกจ้างนั้นจะมีลักษณะการกระทำความผิดคือทำงานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 51 บทลงโทษจะมีตั้งแต่จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000 ถึง 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหานั้นยอมรับว่าตนเองกระทำการผิดกฎหมายและยินยอมเดินทางกลับออกไปจากราชอาณาจักรเกาหลี ภายในระยะเวลาที่กำหนดเอาไว้ไม่ช้ากว่า 30 วัน พนักงานสอบสวนจะทำการเปรียบเทียบปรับและดำเนินการให้คนต่างด้าวนั้น เดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ตามแต่สมควรจะพิจารณา ต่อมาคือการฝ่าฝืนเงื่อนไขในมาตรา 9 มาตรา 13 และมาตรา 14 มีความผิดฐานไม่ทำงานตามประเภทหรือลักษณะงาน กับนายจ้างในท้องที่ตามที่ได้รับอนุญาตในมาตรา 26 วรรคแรก มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทตามมาตรา 52 สุดท้ายคือไม่มีใบอนุญาตทำงานอยู่กับตัว หรืออยู่ในสถานที่ในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่และนายทะเบียน มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาทตามมาตรา 53